รวบรวมวิธีการเอาชีวิตรอดในช่วงน้ำท่วม
Posted: 10/13/2554 by Chow.Bangkok inข้อมูลเหล่านี้รวบรวมจากหน้าเพจเฟซบุ๊ค บางอันโพสก่อนหน้านี้นานแล้ว จนเราไม่สนใจเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ตอนนี้รู้สึกว่าน้ำ ไหลเข้ามารอบๆตัวเราแล้ว รอคอยเวลาที่จะท่วมอยู่เสมอ
Mind Map ว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง ลองสร้างเป็นของตัวเองดูครับ
สร้างส้วมเองอย่างง่าย
เสื้อชูชีพ
วิธีกันน้ำย้อนเข้าบ้านทางรูระบายน้ำต่างๆ
เครดิต: facebook.com
วิธีขับรถลุยถนนที่มีน้ำท่วม
หน้าฝน ที่ไหนๆก็เจอปัญหาน้ำท่วม แล้วถ้าคุณต้องขับรถผ่านบริเวณถนนที่มีน้ำท่วมขังละ แย่แน่ๆถ้าไม่รู้เทคนิคในการขับรถลุยถนนที่มีน้ำท่วมขัง ไม่ยากครับ ปัญหานี้แก้ได้ อ่าน วิธีขับรถลุยถนนที่มีน้ำท่วม
ถ้าจะต้องขับรถขณะน้ำท่วม แล้วไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี วันนี้เกร็ดความรู้มีมาบอกกัน
1. ห้ามเปิดแอร์รถยนต์เด็ดขาด ในขณะขับรถลุยน้ำลึก หรือแม้จะน้ำตื้นก็ตาม เพราะสาเหตุที่รถดับ ส่วนใหญ่เกิดจากการเปิดแอร์แล้วขับลุยน้ำ เพราะว่า เมื่อเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน ทำให้ใบพัดจะพัดให้น้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วทำให้เครื่องดับ แต่ถ้าโชคดี หรือโชคร้าย ถ้าเครื่องไม่ดับ ใบพัดก็จะหมุนๆ
แล้วในขณะที่ลุยน้ำนั้น ก็อาจจะมีขยะต่าง ๆ เช่น กิ่งไม้ ถุงพลาสติก เศษกระดาษ เป็นต้น ขยะพวกนี้ มีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่อง แล้วโดนใบพัดตัดจนใบพัดหัก ซึ่งถ้าใบพัดหัก แน่นอนว่า จะไม่สามารถขับรถต่อไปได้อย่างแน่นอน เพราะระบบระบายความร้อนจะมีปัญหา
2. ควรใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา ก็ใช้ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับรถเกียร์ออโต้ ก็ใช้เกียร์ L ก็ได้ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วสม่ำเสมอ อย่าหยุดอย่าเร่งความเร็วขึ้น
3. ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง ๆ เพราะจะทำให้รถมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อเครื่องมีความร้อนสูงขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และสิ่งที่จะตามมาก็เหมือนกับข้อ 1 ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะเข้าท่อไอเสีย เพราะต่อให้น้ำจะท่วมท่อไอเสีย แล้วสตาร์ทรถอยู่ที่รอบเดินเบา แรงดันที่ออกมาก็เพียงพอที่จะดันน้ำออกมาอย่างสบาย ๆ ต่อให้จอดรถทิ้งไว้จนน้ำท่วมท่อไอเสียก็ตาม เมื่อสตาร์ทรถก็ยังติดแน่นอน สำหรับเครื่องหัวฉีด
4. ควรลดความเร็วลง เมื่อกำลังขับรถสวนกับอีกคันที่กำลังขับมา เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นคลื่นชนคลื่น ซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่างรถของเราและรถที่วิ่งสวนมา มันก็อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้
หลังจากลุยน้ำลึกมา สิ่งที่ควรทำต่อ คือ พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรก ๆ หลังจากการลุยน้ำลึกมา มันจะเบรกไม่อยู่ และเป็นอันตรายมาก ถ้าไม่ทำการย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก สำหรับเกียร์ธรรมดา ต้องมีการย้ำคลัชเช่นเดียวกับการย้ำเบรก เพราะหลังการลุยน้ำมา อาจมีปัญหาคลัชลื่น จึงต้องทำทั้งย้ำคลัชและย้ำเบรก และไม่ควรดับเครื่องทันที ถึงแม้ถึงจุดหมายก็ตาม เพราะอาจมีน้ำค้างอยู่ในหม้อพักของท่อไอเสีย ซึ่งควรสตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มีไอออกจากท่อไอเสีย ก็ไม่ต้องตกใจ ก็ให้สตาร์ทรถทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้น้ำในหม้อพักมันระเหยออกไป เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ มันอาจจะผุได้
ถ้าต้องขับรถตอนน้ำท่วมอีก ก็นำวิธีที่แนะนำไปปฏิบัติกัน จะได้รักษาสภาพรถไว้ใช้ได้นานๆ
1. อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง พร้อมที่เปิดกระป๋อง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผักกาดดองกระป๋อง ปลาราดพริก น้ำพริกกระปุก เนื้อเค็ม ไข่เค็ม หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ ในปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคไม่น้อยกว่า 3 วัน
2. ข้าวหอมมะลิกระป๋อง และข้าวสาร หรือหากเดินทางไปแจกด้วยตนเอง อาจซื้อข้าวเหนียวนึ่งกับเนื้อหรือหมูทอดใส่ถุงเพราะไม่บูดง่าย
3. น้ำดื่ม เครื่องดื่มแพ็คกล่อง และขนมปังกรอบ ขนมถุงต่าง ๆ ที่เด็กชอบ นมถั่วเหลืองและน้ำผลไม้ สำหรับถวายพระฉันหลังเพล
4. นมผง และขวดนมสำหรับเด็กเล็ก พร้อมด้วยกระติกน้ำร้อนขนาดเล็ก ชนิดเสียบไฟได้
5. กระบอกไฟฉายพร้อมถ่าน ควรมีถ่านสำรองด้วยหลาย ๆ ชุด เทียนไข และไฟแช็ค
6. ชุดปฐมพยาบาล และยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้น้ำกัดเท้า ยาทาแผลสด ยาดม ยาหม่อง ยาแก้ไข้แก้หวัด ยาแก้ไอ เจ็บคอ เกลือแร่ซอง ยาแก้ท้องเสีย โลชั่นกันยุง ยาแก้คัน และยารักษาเชื้อรา-น้ำกัดเท้า
7. กระดาษทิชชู และกระดาษชำระแบบเปียก ใช้สำหรับการชำระล้างเพื่อสุขอนามัย
8. ถุงดำสำหรับใส่ขยะ พร้อมเชือกฟางหรือหนังยาง สำหรับมัดปากถุง
9. ผ้าอนามัย และยาคุมสำหรับผู้หญิง ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กเล็กและคนแก่ กระโถน ถุงก๊อบแก๊บพร้อมที่นั่งถ่ายแบบของคนป่วย
10. เสื้อชูชีพ จำเป็นมากสำหรับคนแก่ คนป่วย และเด็ก ที่ควรมีไว้ประจำตัว
11. รองเท้าแตะยาง เสื้อกันฝน หมวกกันแดด ร่ม เสื้อยืด สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าขาวม้า ผ้าถุง กางเกงในกระดาษ หน้ากากกันฝุ่น
12. นกหวีด เพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ
13. เชือกไนลอนเส้นยาว ๆ สำหรับผูกของ ตากผ้า ฯลฯ
14. กระจกเล็ก ๆ เอาไว้สะท้อนแสงขอความช่วยเหลือ
15. แผ่นพลาสติกและเทปกาว เพื่อใช้ในการทำที่หลบภัยภายในที่พัก