การออกแบบโครงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (บนดาดฟ้าอาคาร)

Posted: 8/07/2553 by ดร.ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ (D.Eng., AIT) in ป้ายกำกับ:
9

โจทย์: ต้องการก่อสร้างป้ายขนาด ยาว 20 ม.x สูง 10 ม. บนดาดฟ้าอาคารพาณิชย์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น (มีดาดฟ้าเป็นชั้นที่ 4 ระดับพื้นดาดฟ้า +11.60 ม.) ระยะห่างเสา 4 .00 ม. x 4.00 ม. หน้ากว้างแต่ละคูหา 8.00 ม. ลึก 16.00 ม. มีทั้งหมด 3 คูหา อายุอาคารประมาณ 10 ปี จากตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า พื้นชั้นดาดฟ้ารับน้ำหนักเพิ่มได้ไม่เกิน 400 กก./ตร.ม.และเสารับน้ำหนักเพิ่มได้ไม่เกิน ต้นละ 9 ตัน


วิธีทำ: กำหนดรูปแบบโครงสร้างป้าย วิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบ Reaction ไม่ให้เกินค่าที่โครงสร้างเดิมของอาคารรับได้ คำนวณแรงลมโดยวิธีแรงลมสถิตเทียบเท่า ทำการออกแบบรายละเอียด และนำมาเปรียบเทียบกับการใช้หน่วยแรงลมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522)


ขั้นตอนที่

1:
กำหนดรูปแบบโครงสร้างและคำนวณแรงลม

โครงสร้างรูปแบบที่หนึ่ง ระยะห่าง @ 2.00 ม. โครงป้ายขนาด 16 ม. x 16 ม. พื้นที่ติดป้าย 10 ม. x 16 ม. ดังรูป

คำนวณแรงลมสถิตเทียบเท่าได้ค่าตามรูป
Load Case 1 แรงกระทำตั้งฉากกับป้าย, หน่วยเป็น กก.

Load Case 2 แรงกระทำเอียงเข้าทางด้านซ้ายของป้าย ,หน่วยเป็น กก.

จากการวิเคราะห์พบว่า Load Case 2 มีค่า Reaction และแรงใน member มากกว่า Load Case 1 ซึ่งผลการวิเคราะห์มีดังนี้

Load Case 2: Ry = 5885 kg, Pmax = 9791 kg (compression)

ลักษณะการแอ่นตัวของโครงสร้างภายใต้ Load Case 2 (ชิ้นส่วนสีแดงคือชิ้นส่วนที่รับแรงอัดในแนวแกนมากที่สุด) - คลิกที่รูปเพื่อดูภาพ Animation

โครงสร้างรูปแบบนี้ไม่ผ่านเนื่องจาก มีแรงลงพื้นเกินกว่าค่าที่โครงสร้างเดิมรับได้ (>1600 kg/จุด) ดังนั้นต้องกำหนดรูปแบบโครงสร้างใหม่หรือลดขนาดป้ายลง

ทำไปทำมาอยู่หลายแบบสรุปแล้วได้แบบนี้ครับ

โครงสร้างรูปแบบนี้มีการกำหนดเงื่อนไขคือต้องเอาเสาป้ายตรงกับตำแหน่งเสาเดิมเท่านั้น เพื่อลดภาระการรับน้ำหนักของพื้นชั้นดาดฟ้า ซึ่งจะทำให้เพิ่ม Reaction ของโครงป้ายได้มากขึ้น รูปแบบที่ว่านี้ @ 2.00 ม. ขนาดโครงป้าย 10 ม. x 16 ม. พื้นที่ติดป้าย 6 ม. x 16 ม.

จากการวิเคราะห์พบว่า Load Case 2 มีค่า Reaction และแรงใน member มากกว่า Load Case 1 ซึ่งผลการวิเคราะห์มีดังนี้

Load Case 2: Ry = 7550 kg, Pmax = 4730 kg (compression)

ลักษณะการแอ่นตัวของโครงสร้างภายใต้ Load Case 2 (ชิ้นส่วนสีแดงคือชิ้นส่วนที่รับแรงอัดในแนวแกนมากที่สุด) - คลิกที่รูปเพื่อดูภาพ Animation

สรุปใช้โครงสร้างรูปแบบนี้ได้ เนื่องจากแรงสูงสุดที่ Support น้อยกว่า 9 ตัน


ขั้นตอนที่ 2: ออกแบบชิ้นส่วนและจุดต่อ


ชิ้นส่วนมีสอง Group คือชิ้นส่วนหลัก และรอง ชิ้นส่วนหลักใช้เหล็ก L 100x100x7 มม. ชิ้นส่วนรองใช้ L 45x45x6 มม. จุดต่อใช้แผ่นประกับหนา 7 มม. โดยการเชื่อมและ Bolt ที่ Support ใช้แรง Ry และ Rx และ Rz คำนวณหาขนาด Bolt และระยะฝังต่อไป


ขั้นตอนที่ 3: เปรียบเทียบกับการออกแบบโดยใช้หน่วยแรงลมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522)

Ry = 3935 kg, Pmax = 2265 kg (compression)

สรุป: งานนี้ต้องลดขนาดพื้นที่ป้าย (ไม่ได้ตามใจเจ้าของงาน) ในส่วนของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการใช้หน่วยแรงลมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ให้ค่า Reaction และ Pmax คิดเป็น 52% และ 49% ของวิธีแรงลมสถิตเทียบเท่า ตามลำดับ ดังนั้นถึงแม้ว่ากฎหมายไม่ได้บังคับให้ใช้วิธีแรงลมสถิตเทียบเท่า ผู้ออกแบบควรใช้วิธีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ใช้อาคารต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1. กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2550, “มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร , มยผ. 1311-50, เอส.พี.เอ็ม. การพิมพ์ จำกัด, กทม. (ส่วนที่ 1, ส่วนที่ 2-3 หา Download ได้ใน Google)

2. Multiframe4D (อันนี้ดูรายละุเอียดได้ใน Tumcivil)

************************************************************************
หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนนักออกแบบไม่มากก็น้อยนะครับ....อ้อ

9 ความคิดเห็น:

  1. ขอ ต้นฉบับทางเมลล์หน่อยดิ เก็บไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง

  1. อ้อ says:

    ใครขอต้นฉบับครับ ที่เขียนไปนี่แหละครับต้นฉบับนอกเหนือจากนี้เป็นกระดาษทศเลข กับ input file ของ Multiframe เอามั้ยครับ บอก email มาด้วยครับ เดี๋ยวส่งให้ครับ

  1. ไม่ระบุชื่อ says:

    โตเอง

  1. สุดยอดเลย อาจารย์อ้อ....

    ค่าคำนวนแพงม่ะเนี้ย

    รับงานทั่วราชอาณาจักรหรือป่าวน๊อ..^^

    big big

  1. Unknown says:

    อยากทราบรายละเอียดของชิ้นส่วนแต่ละpartที่ใช้วาดค่ะว่ามีอะไรบ้าง แต่ละส่วนมีขนาดเท่าไหร่ อย่างขนาดของ Bolt แบบนี้ด้วย พอดีกำลังเรียนวิชา Finite Element แล้วอาจารย์ให้ทำโปรเจคก็คิดถึงโครงป้ายโฆษณากัน แล้วมาหาข้อมูลก็เจอเพจนี้พอดี รบด้วยด้วยนะคะ sugar-zeed@hotmail.com

  1. งานนี้เจ้าให้ทำแค่นี้น่ะครับ เพราะมันไม่ตรงความต้องการน่ะครับ เลยไม่ได้ทำต่อครับ สรุปไม่มี detail ส่วนที่ถามมานะครับ

  1. ไม่ระบุชื่อ says:

    อาคารพาณิชย์สองคูหา หน้ากว้างรวม8 มลึก 16 ม อยากทำ 1โครงหลังคาเมทัลชีททรงจั่วและมีระบบประหยัดพลังงานคือมี คลุมบนเพื่อเป็นช่องระบายความร้อน 2ด้าน 16 ม อยากทำโครงป้ายแขวนไวนีลขนาด 16 และด้านหน้าตึก 8 ทำโครงป้ายแขวนไวนีล ขนาด8 รบกวนช่วยคำนวนรายละเอียดเหล็ก ให้หน่อยได้ไหมค่ะ มีคุยราคากับช่างทำหลังคา แต่ไม่มีรายละเอียดค่ะ ช่างแนะนำความสุงของหลังคาจากพื้นดาดฟ้า2.5m 3ใต้หลังคาเมทัลชีท บุกันร้อนเป็นแบบใดดีค่ะ งบน้อยด้วยค่ะ ขอบพระคุณนะคะสำหรับ คำแนะนำ ขอให้ท่านโชคดี รำร่วย สุขภาพแข็งแรง มีความสุขตลอดไปนะค่ะ sireenaka@yahoo.com

  1. Unknown says:

    สนใจติดต่อเรื่องออกแบบป้ายครับ รบกวน mail หาหน่อยครับ sr20detgt@gmail.com

  1. JK says:

    รบกวนขอตัวอย่างเป็นไฟล์ด้วยครับ ขอบคุณครับ email : jose.construction@gmail.com