4

มีคนถามว่าการขึ้นโมเดลใน SU ยุ่งยากหรือเปล่า เพราะว่าบางคนต้องเขียน CAD อยู่แล้ว แล้วต้องมาขึ้นแบบใน SU อีกหลายขั้นตอน จริงๆแล้วไม่อยาก ตัวโปรแกรม SU เองสามารถทำงานร่วมกับไฟล์ CAD ได้ดี แต่ต้อง ประยุกต์นิดหน่อย เริ่มเลยละกัน เป็นงานที่โพสไว้ในเวปนี่แหละ
ขั้นแรกเปิดโปรแกรม SU ขึ้นมา จากนั้น เลือกที่ แทป File แล้วเลือกลงมาที่ Import
Untitled-1
จากนั้นเลือกไฟล์ CAD นามสกุล .DWG  แล้วรอโปรแกรมโหลด

Untitled-2Untitled-3
เสร็จแล้วกด Close
Untitled-4 แต่ระยะที่เห็นในแบบตอนนี้ยังไม่ได้ มาตราส่วนจริงๆของ SU ลองใช้เครื่องมือวัดมาตราส่วนวัดดู
Untitled-5 ระยะที่ได้ในSUตอนนี้  1.37m แต่ระยะตามแบบก่อสร้างจริงๆ เรารู้อยู่ว่า Span เสาช่วงนี้คือ 4.5 m มาดูขั้นตอนต่อไป
Untitled-6 ใช้เครื่องมือที่เหมือนตลับเทปลากวัดระยะเสา ได้ค่าเท่าไหร่ช่างมัน มาดูช่องขวามือด้านล่างที่มีคำว่า length อยู่ พิมพ์ระยะจริงๆ ลงไป ในที่นี้คือ 4.5 เสร็จแล้วกด enter โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่างมาถามว่าจะเปลี่ยนขนาดของโมเดลไม๊ กดYes ไปเลย
Untitled-7ตอนนี้โมเเดลก็ได้มาตราส่วนตามแบบ CAD แล้ว จากนี้ก็ทำการ ต่อเส้นให้เกิดเป็นพื้นที่ แล้วทำการสร้างโมเดล ต่อไป มันจะลดขั้นตอนการทำโมเดลได้เยอะ จากนี้ไปถ้าโมเดลมีสเกลเพี้ยนไป ให้ไปโทษ คนเขียน CAD 555  จบแล้วครับ

วสท.จัดอบรมการออกแบบอาคารที่เชียงใหม่

Posted: 8/26/2553 by ดร.ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ (D.Eng., AIT) in ป้ายกำกับ:
0

รวมของฟรี - งานโยธา

Posted: 8/25/2553 by ดร.ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ (D.Eng., AIT) in ป้ายกำกับ:
0


ใครมีโปรแกรมหรือเอกสารอะไรที่อยากแบ่งปันเกี่ยวกับงานโยธา ส่งมาที่ผม หรือส่ง DL Link มาก็ได้ เดี๋ยวผมรวบรวมใส่ไว้ให้ครับ

ขออนุญาตและขอบคุณเจ้าของโปรแกรมตัวจริงด้วยนะครับ ขอให้ิวิทยาทานนี้เกื้อหนุนให้ท่านเิจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป กุศลเจตนาขอให้สมปราถนาทุกประการเทอญ

RC Design:
+ RCdesign.xls 3,551KB-Working Design (ที่มา: โตมร)
+ RCFlatSlab.xls 113KB-Working Design (ที่มา: โตมร)
+ SD.xls 1,013KB-Strength Design (ที่มา: โตมร)
+ SDM.xls 639KB-Strength Design (ที่มา: โตมร)
+ EasyRCDesignV1.02.xls 2,404KB-Working Design (ที่มา: อ้อ)

Steel Design:
+ TCsteeldesign.xls 3,044KB-ASD Method (ที่มา: โตมร)
+ EasySteelDesignV1.02.xls 1,047KB-ASD Method (ที่มา: อ้อ)

CM:
SCURVE.xls 79KB-(ที่มา: โตมร)


ข้อควรระวัง: ไฟล์เหล่านี้อาจมีข้อผิดพลาดอยู่้บ้าง ก่อนใช้งานควรตรวจสอบความถูกต้องทั้งตัว Code และคำตอบที่ได้ด้วยนะครับ (โปรดใช้ Sense of Engineer ประกอบด้วย) เอาไปใช้ได้แต่ไม่รับประกันความถูกต้อง ถ้าเจอที่ผิดบอกกันด้วยนะครับ ที่ขาดไม่ได้ ต้องขอขอบคุณในน้ำใจของเพื่อนๆ ที่ส่งไฟล์มาให้ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

อ้อ

งาน Sketch Up ล่าสุด สดๆ ร้อนๆ

Posted: 8/24/2553 by Chow.Bangkok in ป้ายกำกับ: ,
2

งานนี้งานของเพื่อนเด็ดติดต่อให้ครับ นั่งเขียนอยู่ หนึ่งคืน ติ-ชม กันได้เต็มที่ ขอรับ…

425

1

Sketchup.....โปรแกรมน่าเล่น

Posted: 8/17/2553 by Chow.Bangkok in ป้ายกำกับ: ,
0

ตามที่พี่โตมรขอไว้ หรือใครสนใจลองโหลดไปเล่นดูครับ

--Download Program Sketchup Ver.6--

หนูมาเป็นเด็กเทพแล้วคะ

Posted: 8/15/2553 by Chow.Bangkok in ป้ายกำกับ:
0

วันนี้มีการนัดทานข้าวกันนิดหน่อยครับ อยากเห็นหน้าน้องพลอยมานาน วันนี้ได้เห็นสักที ตัวจริง จ้ำหม้ำเชียว ตอนนี้ครอบครัวพี่หนุ่มย้ายมาอยู่ที่นี่แล้ว พวกเราคงมีกิจกรรม อะไรทำกันมากขึ้น 555

1

การออกแบบโครงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ (บนดาดฟ้าอาคาร)

Posted: 8/07/2553 by ดร.ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ (D.Eng., AIT) in ป้ายกำกับ:
9

โจทย์: ต้องการก่อสร้างป้ายขนาด ยาว 20 ม.x สูง 10 ม. บนดาดฟ้าอาคารพาณิชย์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น (มีดาดฟ้าเป็นชั้นที่ 4 ระดับพื้นดาดฟ้า +11.60 ม.) ระยะห่างเสา 4 .00 ม. x 4.00 ม. หน้ากว้างแต่ละคูหา 8.00 ม. ลึก 16.00 ม. มีทั้งหมด 3 คูหา อายุอาคารประมาณ 10 ปี จากตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า พื้นชั้นดาดฟ้ารับน้ำหนักเพิ่มได้ไม่เกิน 400 กก./ตร.ม.และเสารับน้ำหนักเพิ่มได้ไม่เกิน ต้นละ 9 ตัน


วิธีทำ: กำหนดรูปแบบโครงสร้างป้าย วิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบ Reaction ไม่ให้เกินค่าที่โครงสร้างเดิมของอาคารรับได้ คำนวณแรงลมโดยวิธีแรงลมสถิตเทียบเท่า ทำการออกแบบรายละเอียด และนำมาเปรียบเทียบกับการใช้หน่วยแรงลมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522)


ขั้นตอนที่

1:
กำหนดรูปแบบโครงสร้างและคำนวณแรงลม

โครงสร้างรูปแบบที่หนึ่ง ระยะห่าง @ 2.00 ม. โครงป้ายขนาด 16 ม. x 16 ม. พื้นที่ติดป้าย 10 ม. x 16 ม. ดังรูป

คำนวณแรงลมสถิตเทียบเท่าได้ค่าตามรูป
Load Case 1 แรงกระทำตั้งฉากกับป้าย, หน่วยเป็น กก.

Load Case 2 แรงกระทำเอียงเข้าทางด้านซ้ายของป้าย ,หน่วยเป็น กก.

จากการวิเคราะห์พบว่า Load Case 2 มีค่า Reaction และแรงใน member มากกว่า Load Case 1 ซึ่งผลการวิเคราะห์มีดังนี้

Load Case 2: Ry = 5885 kg, Pmax = 9791 kg (compression)

ลักษณะการแอ่นตัวของโครงสร้างภายใต้ Load Case 2 (ชิ้นส่วนสีแดงคือชิ้นส่วนที่รับแรงอัดในแนวแกนมากที่สุด) - คลิกที่รูปเพื่อดูภาพ Animation

โครงสร้างรูปแบบนี้ไม่ผ่านเนื่องจาก มีแรงลงพื้นเกินกว่าค่าที่โครงสร้างเดิมรับได้ (>1600 kg/จุด) ดังนั้นต้องกำหนดรูปแบบโครงสร้างใหม่หรือลดขนาดป้ายลง

ทำไปทำมาอยู่หลายแบบสรุปแล้วได้แบบนี้ครับ

โครงสร้างรูปแบบนี้มีการกำหนดเงื่อนไขคือต้องเอาเสาป้ายตรงกับตำแหน่งเสาเดิมเท่านั้น เพื่อลดภาระการรับน้ำหนักของพื้นชั้นดาดฟ้า ซึ่งจะทำให้เพิ่ม Reaction ของโครงป้ายได้มากขึ้น รูปแบบที่ว่านี้ @ 2.00 ม. ขนาดโครงป้าย 10 ม. x 16 ม. พื้นที่ติดป้าย 6 ม. x 16 ม.

จากการวิเคราะห์พบว่า Load Case 2 มีค่า Reaction และแรงใน member มากกว่า Load Case 1 ซึ่งผลการวิเคราะห์มีดังนี้

Load Case 2: Ry = 7550 kg, Pmax = 4730 kg (compression)

ลักษณะการแอ่นตัวของโครงสร้างภายใต้ Load Case 2 (ชิ้นส่วนสีแดงคือชิ้นส่วนที่รับแรงอัดในแนวแกนมากที่สุด) - คลิกที่รูปเพื่อดูภาพ Animation

สรุปใช้โครงสร้างรูปแบบนี้ได้ เนื่องจากแรงสูงสุดที่ Support น้อยกว่า 9 ตัน


ขั้นตอนที่ 2: ออกแบบชิ้นส่วนและจุดต่อ


ชิ้นส่วนมีสอง Group คือชิ้นส่วนหลัก และรอง ชิ้นส่วนหลักใช้เหล็ก L 100x100x7 มม. ชิ้นส่วนรองใช้ L 45x45x6 มม. จุดต่อใช้แผ่นประกับหนา 7 มม. โดยการเชื่อมและ Bolt ที่ Support ใช้แรง Ry และ Rx และ Rz คำนวณหาขนาด Bolt และระยะฝังต่อไป


ขั้นตอนที่ 3: เปรียบเทียบกับการออกแบบโดยใช้หน่วยแรงลมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522)

Ry = 3935 kg, Pmax = 2265 kg (compression)

สรุป: งานนี้ต้องลดขนาดพื้นที่ป้าย (ไม่ได้ตามใจเจ้าของงาน) ในส่วนของการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการใช้หน่วยแรงลมตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 ให้ค่า Reaction และ Pmax คิดเป็น 52% และ 49% ของวิธีแรงลมสถิตเทียบเท่า ตามลำดับ ดังนั้นถึงแม้ว่ากฎหมายไม่ได้บังคับให้ใช้วิธีแรงลมสถิตเทียบเท่า ผู้ออกแบบควรใช้วิธีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ใช้อาคารต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1. กรมโยธาธิการและผังเมือง, 2550, “มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร , มยผ. 1311-50, เอส.พี.เอ็ม. การพิมพ์ จำกัด, กทม. (ส่วนที่ 1, ส่วนที่ 2-3 หา Download ได้ใน Google)

2. Multiframe4D (อันนี้ดูรายละุเอียดได้ใน Tumcivil)

************************************************************************
หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนนักออกแบบไม่มากก็น้อยนะครับ....อ้อ

สวนสัตว์-สวนน้ำ โคราช

Posted: 8/02/2553 by ดร.ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ (D.Eng., AIT) in ป้ายกำกับ: ,
0


เอารูปไปเที่ยวมาฝากบ้างครับ (click here for more detail)